
3 นิสัยที่จะทำให้คนใช้ AI “สมองไม่ฝ่อ”
ความเดิมตอนที่แล้ว .. ตอน 1
เราเริ่มเห็นแล้วว่า AI เข้ามาแทนที่ “กระบวนการคิด” อย่างไร
.
ตอน 2 เรารู้ว่า สมองเรามีทางลัด (System 1)
ที่เรามักใช้โดยไม่รู้ตัว และ AI กำลังสนับสนุนให้เราเดินลัดจนไม่ต้องคิดเอง
.
ตอน 3 เรากำลังเข้าสู่ “ยุคข้อมูลเท็จ” ใครพูดคล่อง คนนั้นพูดถูก
.
ตอนสุดท้าย แต่เราจะเริ่ม “ฝึกสมอง” ให้รอด ทั้ง #รู้คิด และ #แข็งแรง
ด้วยสิ่งที่ Microsoft Research เรียกว่า Metacognitive Skills
Metacognition คือความสามารถในการรู้ตัวว่ากำลังคิดอะไร
และกำลังใช้วิธีคิดแบบไหน
Microsoft เรียกสิ่งนี้ว่า framework สำคัญของการใช้ AI อย่างชาญฉลาด
ไม่ใช่แค่เชิงประสิทธิภาพ แต่เพื่อไม่ให้ “เสียตัวตนทางปัญญา”
ไปกับระบบอัตโนมัติ Microsoft Research
ทำไมเราต้องฝึก Metacognition ก่อนที่สมองจะชินกับการไม่คิด?
เพราะงานวิจัยชี้ว่า เมื่อเราพึ่งพา AI เพื่อคำตอบมากเกินไป
สมองจะค่อย ๆ ลดการใช้กระบวนการวิเคราะห์ ประเมิน และวางแผน
Metacognition ไม่มีขาย และไม่ใช่สิ่งที่เกิดเอง แต่ต้อง “ฝึกเท่านั้น”
3 นิสัย ที่อิงจากทั้งงานวิจัยและการปฏิบัติจริง
ที่จะช่วยฟิตกล้ามเนื้อสมองของคุณให้ไม่กลายเป็นคนที่ AI คิดแทน
นิสัยที่ 1 : ฝึกคิดด้วยตัวเองก่อนใช้ AI (Manual Mental Reps First)
AI แยกประเด็นได้ แต่ "ความเข้าใจ" ต้องเกิดจากคุณ
เหมือนการดูคนอื่นออกกำลังกายไม่ทำให้กล้ามคุณแข็งแรง การให้ AI คิดแทนตลอดก็ไม่ฝึกสมองคุณ
แบบสำรวจปี 2025 พบว่า 41% ของผู้ใช้ AI เริ่มต้นด้วยการถาม AI ก่อนคิดเอง
เท่ากับว่า คนเกือบครึ่งเลือกใช้เครื่องมือก่อนลงมือพยายาม — ข้ามขั้นตอนวอร์มอัพสมองไปเลย
การใช้ AI ทันทีอาจช่วยให้คุณคุ้นเคยกับเครื่องมือ
ซึ่ง มันเข้าทางสมอง ที่ชอบ "หลีกเลี่ยงความยาก"
วิธีฝึก:
ก่อนถาม AI หยุดสักนิด
ลองแก้ปัญหา/เขียน/สรุปความเห็นเองก่อน แล้วค่อยใช้ AI ปรับแต่ง
ฝึกใช้สมองก่อน ใช้ AI เป็นตัวเสริม
เหตุผล: การดิ้นรนคือพื้นฐานของการเรียนรู้ (Heather McGowan)
"คุณจะเรียนรู้ได้ดีกว่า เมื่อพบสิ่งที่ทำให้ตัวเองประหลาดใจ
มากกว่าฟังเรื่องน่าตกใจเกี่ยวกับคนอื่น" — Daniel Kahneman
การคิดเองพัฒนาสัญชาตญาณ การจับรูปแบบ และความจำระยะยาว
นิสัยที่ 2: ตรวจสอบคำตอบ AI เหมือนเทรนเนอร์ตรวจท่า (Think Like a Form Coach)
คำตอบ AI อาจ ดู สวยงาม แต่ไม่เสมอไปว่าถูกต้อง
เหมือนท่าสควอชที่ดูดีอาจทำผิด เสี่ยงบาดเจ็บ!
วิธีฝึก:
ทุกครั้งที่ได้คำตอบจาก AI ถาม 3 ข้อนี้:
ข้อมูลนี้แม่นยำจริงไหม?
อะไรที่ขาดหายไป?
AI สร้างจากสมมติฐานอะไร — และฉันเห็นด้วยไหม?
เหตุผล:
AI เสนออย่างมั่นใจ จนเราหลงเชื่อแม้มันผิดมหันต์
(Stanford Research พบว่าการขอให้ AI อธิบาย เหตุผล ช่วยลดนิสัยพึ่ง AIได้)
"ความคุ้นเคยมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นความจริง" — Daniel Kahneman
ดังนั้นอย่าเชื่อคำตอบที่ดูดีจาก AI ง่ายๆ
นิสัยที่ 3: สะท้อนคิดก่อนเดินหน้าต่อ
(Spot Yourself Before You Wreck Yourself)
AI ช่วยผลิตผลงานไว แต่ "ปริมาณ" ไม่เท่ากับ "ความเข้าใจ"
หลังใช้ AI อย่าเพิ่งข้ามไป — หยุดและถาม:
ฉันเรียนรู้อะไรจริงๆ จากเรื่องนี้?
ฉันอธิบายให้คนอื่นเข้าใจง่ายๆ ได้ไหม?
ฉันจะตัดสินใจแบบเดิมอีกไหม?
เหตุผล:
นี่คือ "System 3" ที่ตรวจสอบทั้งสัญชาตญาณ
(System 1) และตรรกะ (System 2) ของคุณ มันถามว่า:
เรา คิดเอง หรือแค่ตอบสนองต่อสิ่งที่ AI ให้มา?
ทำไมฉันถึงใช้ prompt แบบนั้น?
ฉันได้สิ่งที่ต้องการ หรือแค่สิ่งที่ง่าย?
บทสรุปสุดท้าย :
อันตรายที่สุดไม่ใช่การถูก AI แทนที่
แต่คือการปล่อยให้สมองอ่อนแอลงขณะ AI แข็งแกร่งขึ้นทุกวัน
ทางรอดคือ Metacognitive Skills — การคิดเกี่ยวกับการคิด ฝึกด้วย 3 ขั้นตอน: หยุด ตั้งคำถาม สะท้อนคิด
"ทักษะเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ predictable โอกาสฝึกฝน และ feedback ชัดเจน" — Kahneman
AI ให้ผลลัพธ์ แต่ไม่ให้ feedback หรือการคิดไตร่ตรอง — นั่นคือหน้าที่ของคุณ
ฝึกสมองเหมือนกล้ามเนื้อ: คิดก่อนถาม ตรวจสอบคำตอบ สรุปความเข้าใจ
นี่คือวิธีรักษาสมอง ในวันที่เราไม่รู้ว่า AI จะพามนุษยชาติไปไกลแค่ไหน
#ขอบคุณที่ติดตาม #เราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน
Ref : Carla Dewing How Smart People Get Dumber with AI (+What to Do About It)
รุ่งพร มีศิลป์ - บทความ
เจติยา เฉยรอด - ภาพประกอบ