
ยุคสิ้นสุดของการคิดอย่างลึกซึ้ง The Death of Deep Thinking
Daniel Kahneman เขียนหนังสือ ชื่อ Thinking Fast and Slow
เขาทำงานด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและจิตวิทยา
และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2002
จากทฤษฎีที่ทำให้คนทั้งโลกเข้าใจ “กลไกการคิด” ของมนุษย์ลึกขึ้น
ชนิดที่ไม่เคยมีใครอธิบายได้มาก่อน
เขาอธิบายว่า สมองมนุษย์มีระบบคิด 2 แบบ:
• System 1: Thinking Fast คิดเร็ว อัตโนมัติ ใช้อารมณ์ ตอบสนองทันใจ
• System 2: Thinking Slow คิดช้า ใคร่ครวญ ใช้เหตุผล และต้องใช้พลังสมอง
เราทุกคนใช้สมองทั้งสองระบบทุกวัน
— ความต่าง คือความสามารถในการ “เข้าถึงระบบที่สอง”
ซึ่งทำให้คนฉลาดโดดเด่นกว่าคนทั่วไป
มันย้อนแย้งกับ สัญชาตญาณมาก เพราะสมองเราชอบทางลัด มันขี้เกียจ
และ System 1 คือเส้นทางที่มันโปรด
ปัญหาคือ... สิ่งที่ AI ทำได้
มันเอื้อให้เราใช้ System 1 อย่างรวดเร็ว ราบรื่น เราจึงเพลินอยู่ในภาวะ #สิ้นคิด
เพราะทุกอย่างที่ AI ทำ มัน “เร็ว ง่าย ดูใช่ไปหมด”
มันทำให้เราหยุดคิด หยุดวิเคราะห์
เพราะมัน พูดเหมือนผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีอะไรต้องแย้ง
มันตอบถูกต้อง จนเราไม่คิดจะตรวจซ้ำ
มันเขียนได้ เกินความคาดหมาย ดีกว่าที่เราเขียน จนเราคิดว่า “ก็น่าจะถูกนะ”
และเมื่อระบบคิดลึก (System 2) ไม่ได้ถูกใช้งานบ่อย ๆ
— มันก็กลายเป็นระบบที่ “เงียบหาย” หลับใหลอยู่ในสมอง
เรา ที่เคยเป็นผู้ใช้ กลายเป็นคนที่ยอมให้ AI บงการ
เมื่อคุณใช้ AI มาช่วยคิดทุกวัน โดยไม่เคย “หยุด” เพื่อตั้งคำถาม
คุณกำลังเปลี่ยนจาก “คนใช้เครื่องมือ” → เป็น “คนที่เครื่องมือคิดแทน”
และเมื่อคุณใช้แต่ System 1 แบบไม่ฝึก System 2 เลย
ผลลัพธ์ที่ตามมา คือ:
สมองเต็มไปด้วย สมมติฐานผิด ๆ #ตรรกะวิบัติ
การวิเคราะห์ตื้น ๆ ที่ฟังดูดี
คำตอบที่น่าเชื่อถือ แต่ ผิด
ตัวช่วยเดียวที่จะทำให้เรารอด คือ System 3 ซึ่งไม่ง่าย !!
ลำพังไม่มี AI แค่จะใช้ System 2 ก็ต้องใช้ความพยายามขั้นสุด
เพราะมันเป็นเรื่องฝืนสัญชาติญาณจริงๆ
System 3 คือ ฝึกกล้ามเนื้อรู้คิด Metacognition Muscle
โลกที่ขับเคลื่อนด้วย prompt และ post-truth
สิ่งที่เราต้องฝึกไม่ใช่แค่ “ความรู้” แต่คือ “การคิดถึง วิธีที่เราคิด”
Metacognition อภิปัญญา ไม่ใช่ภาษาบัญญัติดัดจริต แต่มันคือ “ทักษะอยู่รอด”
ที่ช่วยให้เราไม่กลายเป็นแค่ เครื่องมือป้อนคำสั่งให้ AI
มันคือเสียงในหัวที่ถามว่า “เรารู้สิ่งนี้เพราะอะไร?”
มันคือแรงต้านที่บอกว่า “เราควรชะลอให้ช้า แล้วคิดให้ลึกกว่านี้อีกนิด”
อย่ารังเกียจการคิดเร็ว .. คิดเร็ว มีประโยชน์
เมื่อคุณฝึกพอที่จะรู้ว่า เมื่อไหร่ต้อง “ช้าลง”
ตอนหน้า เราจะมารู้กันว่า Metacognition Muscle
หรือ กล้ามเนื้อรู้คิด จะฟิตได้ไง
และทำไมเราต้องสร้าง กล้ามสมองด่านสุดท้าย ให้ไว ก่อนจะถูกคลื่น AI ถล่ม
ติดตามต่อ ตอนที่ 3 : “ข้อมูลเทียมทะลัก” โพสต์เท็จครองเมือง
Ref : Carla Dewing How Smart People Get Dumber with AI (+What to Do About It)
รุ่งพร มีศิลป์ - บทความ
เจติยา เฉยรอด - ภาพประกอบ